นั่นเป็นคำพูดที่ผมเรียกได้ว่า สุดยอดที่สุดในชีวิต คิดว่าไม่ได้พูดเกินจริงไป ยิ่งชีวิตผ่านไปผมยิ่งรู้สึก ถ้าจะมีคำสอนที่เป็นจริง และเป็นประโยชน์ที่สุด ผมจะเลือกประโยคนี้
Joshua Bell เป็นนักไวโอลินชาวอเมริกันที่มีความสามารถมาก ได้แสดงที่ Carnegie Hall ตั้งแต่อายุ 18 (ที่เดียวกับที่คุณบัณฑิต อึ้งรังษี ไปชนะการประกวดมานั่นแหละ) หนังสือพิมพ์ได้ร่วมกับ Joshua ทำการทดลองที่ สถานีรถไฟ ใน วอชิงตัน ดีซี โดย เค้าเล่นนานเพลง ของบ๊าค 6 ชิ้น นาน 43 นาที ปรากฏว่าไม่มีใครหยุดฟังเค้าเลย มีบ้างแป๊บนึงแล้วก็เดินต่อไป นอกจากเด็กๆ ที่ดูจะสนใจ แต่ก็ถูกผู้ปกครองลากไปต่อ นอกจากนี้ยังมีคนให้เงินรวม $32.17 (ราคาตั๋วระดับกลางๆ ของเขาคือ $100 และไวโอลินที่เขาใช้ราคา $3.5 ล้าน) ความจริงผมเคยอ่านข่าวนี้เมื่อหลายปีก่อน แต่ก็แค่คิดว่าเป็นเพราะคนส่วนใหญ่รีบเร่งจึงไม่มีเวลาสนใจ หรือซาบซึ้งกับบทเพลง จนกระทั่งได้อ่าน blog ที่มีคนเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า เป็นเพราะ perception “นักดนตรีคนนี้มาแสดงในสถานีรถไฟ เพราะฉะนั้นเค้าเป็นคนไร้ชื่อเสียง และไร้ฝีมือ” นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในใจคนเหล่านั้น เค้าจึงไม่รู้สึกว่าดนตรีนั้นมีความไพเราะเลย
มีอีกสองเรื่องที่สะกิดใจผม คือหนึ่งเด็กๆ ดูจะซาบซึ้งกับบทเพลงได้มากกว่าผู้ใหญ่ เพราะเค้าไม่รู้จักโจชัว แต่กลับสนใจเป็นอย่างมาก (แต่ผู้ใหญ่ก็ลากเค้าไป) ถ้าเรามีลูกผมว่าเราควรจะเคารพความคิดเห็นของเค้ามากๆ เพราะเด็กดูจะสามารถรับรู้อะไรที่เรา(ที่เป็นผู้ใหญ่) พลาดไปได้ อีกเรื่องคือ มีหลายๆ คนบอกว่า มีหญิงสาวคนหนึ่งจำเค้าได้ แต่ผมอยากจะย้ำคือเธอจำเค้าได้ ไม่ใช่ซาบซึ้งกับบทเพลง คำถามคือเธอจะรู้สึกว่าเพลงไพเราะหรือไม่ถ้าเธอจำเค้าไม่ได้ ว่าเป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียง
ผมจะไม่สรุปอะไรเพราะ ต้องการให้ทุกคนหาคำตอบด้วยตัวเอง สำหรับตัวผมเองนั้นใช้เวลาไปมากมายสำหรับเรียนรู้เรื่องนี้ แต่ก็ไม่ผิดหวังเพราะมันเป็นประโยชน์กับชีวิตผมจริงๆ
Links:
http://www.youtube.com/watch?v=hnOPu0_YWhw
http://www.betternetworker.com/articles/view/personal-development/mindset/perceptionsomething-to-think-about
http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/article/2007/04/04/AR2007040401721.html
http://en.wikipedia.org/wiki/Joshua_Bell
http://www.joshuabell.com/
http://en.wikipedia.org/wiki/Johann_Sebastian_Bach
Pingback: คำตอบที่คุณต้องคิดก่อนเปลี่ยนเป็น Agile « Korn4D Agile Blog