กฏ “อิทัปปัจจยตา” พูดว่า
“เพราะสิ่งนี้มีสิ่งนั้นจึงเกิด เมื่อสิ่งนี้หมดไป สิ่งนั้นย่อมหมดไปด้วย”
เป็นหลักการที่พระพุทธเจ้าใช้ ในกระศึกษา “ปฏิจสมุปบาท” จนเข้าใจเหตุแห่งทุกข์ในที่สุด มีหลายที่นิยามกฏนี้แค่ว่า ทุกอย่างเกิดแต่เหตุ ปัญหาคือแค่นั้นมันไปต่อไม่ได้ ได้แค่ทำใจ ดับทุกข์ไม่ได้ ต้องคิดให้ครบว่า สิ่งนี้เกิดจากสิ่งนั้น แล้วถ้าเราต้องการให้สิ่งนี้มีเราก็ต้องรักษาสิ่งนั้นหรือเพิ่มสิ่งนั้น แต่ถ้าไม่อยากให้สิ่งนี้มี เราก็ต้องหาทางกำจัดสิ่งนั้น พอเราเข้าใจทั้งหมดแล้วจะทำให้เราสามารถควบคุมการเกิดดับได้ หลายคนอ่านแล้วคงบอกว่า อย่างนี้ก็เท่ากับยึดติดน่ะสิ นั่นเป็นเพราะ อิทัปปัจจยตา นี้เป็นอาวุธ เป็นเครื่องมือ ใช้ดับทุกข์ก็ได้ ใช้ให้เกิดทุกข์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับคนใช้
ทีนี้โลกเรานั้นมันซับซ้อนกว่าแค่ของสองสิ่ง มันมีเป็นล้านๆ สิ่ง แล้วทุกสิ่งมันก็เชื่อมกันหมดทำให้มันไม่ง่ายเลยที่เราจะเข้าใจได้หมด(พระพุทธเจ้าเข้าใจได้หมด) ของจริงมันจะเป็นประมาณว่า เพราะ A มี B จึงเกิด เพราะ B มี C จึงเกิด เพราะ C มี D จึงเกิด เพราะ D มี E จึงเกิด เพราะ E มี F จึงเกิด … ต่อกันเป็นสายยาวพรืดแบบนี้ แล้วของจริงก็ไม่ได้มีแค่นี้ ที่มีแค่ของอย่างเดียวเป็นเหตุเป็นผล มันจะซับซ้อนขึ้นไปอีกว่า เพราะ มี A,B,C จึงเกิด D,E,F และ เพราะ E,F,G จึงเกิด H,I,J อะไรประมาณนั้น เหลือที่จะเข้าใจได้ในบางครั้ง ทั้งหมดนี้เมื่อมองเห็นแล้ว จะเกิดมองเห็นเป็น “การแสกรรม” ทำให้เราเข้าใจได้ว่า ทุกข์ของเรานั้น เกิดมาจากเหตุใด และถ้าเราอยากดับมันเราก็สามารถดับที่ต้นตอได้ มันเหมือนโซ่ที่แต่ละข้อต่อๆ กันอยู่ ถ้าอยากตัดโซ่ ตัดที่ข้อไหนก็ได้ โซ่มันก็ขาดอยู่ดี
สรุปว่า จะศึกษาอิทัปปัจจยตาให้ได้ดีนั้น แค่คิดว่า ทุกสิ่งเกิดจากเหตุไม่พอ ต้องศึกษาจนกระทั่ง รู้ลักษณะการเกิดดับ และ ควบคุมมันได้ จึงจะถือว่าสำเร็จ