เมื่อเริ่มศึกษาทางพุทธทุกคนคงจะเคยได้ยินคำว่า ให้เดินทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทา แล้วก็จุดหมายของมันคือความว่าง เรื่องนี้คงทำให้หลายคนสับสนอยู่ไม่น้อย หลายคนพอได้ยินคำว่าสายกลางก็จะแปลว่าตรงกลาง อย่างเช่น ถ้าเย็นคือศูนย์องศา ร้อนคือร้อยองศา กลางก็น่าจะเป็นห้าสิบองศา หรือครึ่งหนึ่งพอดี อันนี้ตามความคิดและการตีความของผม(ย้ำของผมเท่านั้น) คิดว่าไม่น่าจะถูกต้องนัก คืออ่านไปลึกๆ แล้วศาสนาพุทธจะสอนอีกเรื่องหนึ่ง คือความว่าง แต่ก็อีกนั่นแหละ ก็มีคนตีความว่า ความว่างคือต้องไม่คิดอะไร คือว่างจากความคิด ซึ่งตามความคิดของผม(อีกแหละ) ว่ามันไม่ค่อยจะตรงนัก แล้วที่ผมคิดว่าใช่คืออะไรล่ะ?
ก่อนอื่นคิดว่า ต้องอธิบายเกี่ยวกับเรื่อง “ของคู่” ก่อน ตามธรรมดาของโลก(โลกียะ) นั้นเรามักแบ่งของออกเป็นคู่ๆ เช่น ร้อนเย็น กลางวันกลางคืน ผู้ชายผู้หญิง ทุกข์สุข บุญบาป ฯลฯ แต่ในทางพุทธนั้นท่านถือว่าทุกสิ่งเป็นเรื่องเดียวกัน คือปราศจากของคู่ คือ ไม่มีร้อนไม่มีเย็น ไม่มีกลางวันกลางคืน ไม่มีผู้ชายผู้หญิง ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ไม่มีบุญบาป ฯลฯ เห็นมั้ยเค้าไม่ได้บอกว่า ให้อยู่ตรงกลางระหว่าง ร้อนเย็น หรือ ให้เป็นครึ่งชายครึ่งหญิง(ว้าย! ประเทืองนี่หว่า) แต่เค้าบอกว่า ไม่มี เราเพิ่งมาค้นพบเมื่อไม่นานมานี้ว่านี่เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้วเราก็เริ่ม ศึ่กษามันแต่บังเอิญคนที่คิดไม่เคยเรียน เรื่องของคู่ในพุทธศาสนา เลยตั้งชื่อวิชาที่คิดขึ้นได้ว่า วิทยาศาสตร์ ลองคิดตามง่ายๆ ว่า ร้อนเย็น เรียกว่า อุณภูมิ ไกลใกล้ เรียก ระยะ ผู้ชายผู้หญิง เรียก มนุษย์ กลางวันกลางคืนเรียกว่า เวลา ฯลฯ ให้ชัดลงไปคือในวิชาวิทยาศาสตร์นั้นไม่มีของคู่ นี่เองคือหลักเรื่องของ “ความว่าง” คือความว่างจากของคู่ เพราะการเข้ายึดติดกับความเป็นของคู่นั้นไม่ถูกต้อง ตามวิทยาศาสตร์ก็คือ มันเป็นเรื่องที่ไม่มีอยู่จริง เลย ต้อง ว่าง คือ ต้องไม่ติดยึดกับมันให้ได้ เสร็จแล้วทางสายกลางนี่แหละ คือทางไปสู่ความว่างจากของคู่ มันก็เลยเป็นว่า ถ้าไปอยู่ตรงกลางแล้ว มองไปทางซ้ายก็เจอ เย็น มองไปทางขวาก็เจอร้อน แล้วจะเป็นอิสระจากร้อนเย็นได้อย่างไร จึงไม่ถูกต้อง ที่ถูกคือ ต้องไม่ใช่ ร้อน ไม่ใช่เย็น และไม่ใช่-ไม่ใช่ร้อนไม่ใช่เย็น จึงเรียกว่าว่างและอยู่ในทางสายกลางโดยแท้จริง
ลองดูลักษณะการอธิบายเรื่องทุกข์ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอธิบายแก่พระมหากัสสป แบบทางสายกลาง คือว่างจากของคู่กันนะ (ตามเรื่องคือ ทุกข์นั้นเราทำเอง หรือคนอื่นทำให้เราทุกข์)
ภ. ดูกรกัสสป ท่านจงถามปัญหาตามที่ท่านจำนงไว้เถิด ฯ
ก. ข้าแต่ท่านพระโคดม ความทุกข์ตนกระทำเองหรือ ฯ
ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป ฯ
ก. ความทุกข์ผู้อื่นกระทำให้หรือ ท่านพระโคดม ฯ
ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป ฯ
ก. ความทุกข์ตนกระทำเองด้วย ผู้อื่นกระทำให้ด้วยหรือ ท่านโคดม ฯ
ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป ฯ
ก. ความทุกข์บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้หรือท่านพระโคดม ฯ
ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป ฯ
ก. ความทุกข์ไม่มีหรือ ท่านพระโคดม ฯ
ภ. ความทุกข์ไม่มีหามิได้ ความทุกข์มีอยู่ กัสสป ฯ
ก. ถ้าอย่างนั้น ท่านพระโคดม ย่อมไม่รู้ไม่เห็นความทุกข์ ฯ
ภ. เราย่อมไม่รู้ไม่เห็นความทุกข์หามิได้ เรารู้เห็นความทุกข์อยู่ กัสสป ฯ
Pingback: The Matrix – 8 – I’m taking Neo to see her | Korn4D Agile Blog