“สกรัมนั้นมีลักษณะเป็นหัวหอม” ไม่รู้เคยมีใครบอกคุณอยางนี้ไหม แต่มันคือภาพแรกที่ผมเห็น รูปภาพ อธิบายสกรัม ที่มีวงกลมเล็กๆ อยู่ตรงการบอกว่า เป็นรอบวัน มีรอบกลางล้อมไว้ บอกว่า สปรินต์ แล้วก็มีรอบใหญ่อยู่ข้างนอก เรียกว่า รีลีส
ในแต่ละรอบจะมีงานหรือกิจกรรมที่จะต้องทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของแต่ละช่วงเวลา อย่างแต่ละวัน ก็ต้องมีการ ทำ เดลี่สกรัม การทำงานปกติ โค้ด เทส เขียนเอกสาร ฯลฯ แต่ละสปรินต์ ก็ต้องมีการทำ สปรินต์แพลนนิ่ง ภาคหนึ่ง และ ภาคสอง การทำ แพลนนิ่งโปกเกอร์ รีโทรสเปคทิฟ ฯลฯ และแต่ละรีลิส ก็ต้องมี รลิสแพลนนิ่ง
การจะเข้าสู่วงในได้จะต้องทำแพลนนิ่งของวงนอกก่อน และ วงในมันจะต้องทำหลายรอบก่อนจะกลับสู่วงนอก และจะจบวงนอกได้ ก็จะต้องมีกิจกรรมเพ่ิงเติมอีกก่อนจบ (ฟังดูอย่างกับ Angry Bird Space)
ทั่วๆ ไปกิจกรรมในหนึ่งโปรเจค ของสกรัมมักจะเป็น
1. รีลิสแพลนนิ่ง
2. สปรินต์แพลนนิ่ง ภาคหนึ่ง
3. สปรินต์แพลนนิ่ง ภาคสอง
4. เดลี่สกรัม
5. ทำงานประจำวัน (โค้ด เทส เอกสาร เทรนนิ่ง ฯลฯ)
6. ทำซ้ำ 4 จนจบสปรินต์
7. รีโทรสเปคทิฟ
8. สปรินต์รีวิว
9. ทำซ้ำ 2 จนกว่าจะพร้อมรีลิส
10. ทำ อันดันทาสก์ (Undone Task) (รีเกรสชั่นเทส ดีพลายเม้นต์ ฯลฯ)
11. เริ่มต้น 1 ใหม่
ช่วยจำ! เป้าหมายของแต่วงรอบคือ
1.แต่ละวัน เป้าหมายคือ Runnable Software – เพราะถ้ารันไม่ได้ คนอื่นก็ทำงานร่วมกับเราไม่ได้ เพราะโค้ดเราจะไปเบรกโค้ดคนอื่น การเลี่ยงไม่คอมมิต มีแต่จะทำให้ปัญหาบานปลาย
2. แต่ละสปรินต์ เป้าหมายคือ Show-able Software – เพราะ โปรดักโอนเนอร์ จะต้องนำไปโชว์ให้สเตกโฮลเดอร์ดู ถ้าโชว์ไม่ได้อาจจะไม่มีสปรินต์ถัดไปเลยทีเดียว
3. แต่ละรีลิส เป้าหมายคือ Sale-able Software เพราะการทำซอฟแวร์เป็นธุรกิจ ถ้าหาขายไม่ได้ ย่อมไม่มีค่าอะไรเลย
จำง่ายๆได้ว่า
“รันได้ โชว์ได้ ขายได้”