ช่วงนี้กลับมาตจว. กำลังทำบ้านอยู่ นั่งมองๆ ก็เห็นว่า เอ๊ะ! ที่เราเคยคิดว่า civil engineering เป็นต้นกำเนิดของ waterfall นี่ไ่ม่จริงเสมอไปนะ การก่อสร้างงานเล็กแบบรับเหมานี่เค้าก็ใช้อไจล์เหมือนกัน
มันเริ่มจากสองวันแรกที่ต้องเริ่ม จากรื้อพื้นเก่าที่เสียจากปลวกออกก่อน นี่พวกเค้าก็เป็นช่างไม้ พอวันที่สาม เริ่มถมดิน อ้าวช่างไม้เมื่อวันแรกๆ กลายมาเป็น คนงานถมดินซะแล้ว การทำงานของพวกเขาก็น่าสนใจ วันแรกของการถมนั้นเค้าทำงานแบบ individual คือต่างคนมีจอบ ต่างคนมีปุ้งกี๋ แล้วโกนดินใส่ปุ้งกี๋ แล้วเอามาถม ปรากฏว่าพอวันที่สอง เค้าเริ่มเปลี่ยนไป มีการแบ่งหน้าที่กันทำ คนหนึ่ง โกย คนหนึ่งยกปุ้งกี๋ใส่รถเข็น แล้วมีอีกคน เข็นรถไปใส่จัดถม อืม มันเกิดจากอะไรนะ หรืัอหัวหน้างานเค้ามาสั่ง แต่ก็เห็นเค้าเริ่มๆ ทำอย่างนี้ ตั้งแต่วันก่อนแล้ว แต่มีแค่คันเดียว ตอนหลังจึงเห็นมีมาอีกคันหนึ่ง
อีกเรื่องที่สังเกตเห็นคือ มีการพูดคุยกันไม่มาก แต่ทุกคนกลับรู้ว่าใครต้องทำอะไร เหมือนเค้าส่งกระแสจิตกันได้ คิดว่าเป็นเพราะพวกเขาทำงานด้วยกันมานาน บางคนน่าจะเป็นญาติกันด้วยซ้ำ สุดยอดสื่อสารคือไม่ต้องสื่อสาร (เพราะรู้ใจกันแล้ว) จริงๆ
อีกเรื่องคือการทำตามแผน และการปรับแผน วันแรกของการถมมีแผนคือ จะถมให้ได้ 7 คันรถ แล้วจะเอาดินมาเพิ่มอีกเท่าหนึ่ง แต่พอเย็นกลับมีฝน ทำให้ต้องหยุด ตอนถมไปได้ 5 คันรถ เหลืออีก 2 กอง แต่ก็ดูไม่ใช่ปัญหาอะไร สองกองนี้ก็เอามาถมวันรุ่งขึ้น ดินก็เลื่อนเป็นตอนสาย ง่ายๆ
นั่นเป็นจุดหลักๆ ที่ผมสังเกตเห็นจากการทำงานของช่าง ว่ามันเข้ากับอไจล์ อย่างน่าประหลาด และไม่คิดว่า ช่างเหล่านั้นเค้าเรียนรู้อไจล์ แล้วเอามาปรับใช้อย่างพิเศษ อย่างใด ผมคิดว่ามันเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ มันมีมาก่อนที่เราจะบัญญัติคำว่า อไจล์ ขึ้นมาเสียอีก เผลอ ตั้งแต่ตอนสร้างนครวัด เค้าก็ใช้ระบบนี้มาแล้ว อไจล์จึงไม่ใช่ของใหม่ แต่เป็นการกลับไปหาธรรมชาติ ไปหาแก่นแท้ดั้งเดิมของเราเอง