เรื่องการจัดลำดับความสำคัญของงาน ด้วยการมองเป็นสี่ด้าน โดยแบ่ง แกนหนึ่งเป็นเรื่องความด่วน(urgency) และ อีกแกนหนึ่งเป็นเรื่อง ความใหญ่(importance) นั้นมีมานานแล้ว และหลายคนก็คุ้นเคยเป็นอย่างดี แต่ทว่าจากประสบการณ์ส่วนตัว ผมได้เห็นหลายคนที่ยังขาดความเข้าใจบางอย่างไป ทำให้ชีวิตเหมือนนักผจญเพลิง ต้องคอยแต่ดับไฟ จากงานด่วนอยู่ร่ำไป
ว่าด้วยความด่วนและความใหญ่นั้น ทุกคนคงเข้าใจได้ไม่ยากถึง ความไร้สาระของงานไม่ใหญ่ไม่ด่วน แต่เร้าใจจนอดที่จะทำไม่ได้ ตัวอย่างเช่น มี ภาษาใหม่มาให้ลอง เกี่ยวกับงานก็ไม่ใช่ อีกทั้งนายก็ไม่ได้สั่ง แต่เรากลับเจียดเวลาไปทำเสียได้ อันนี้เรียกว่า งาน ไม่ใหญ่ไม่ด่วน สมควรเลิก ทำเสีย แม้ว่า งานจะดูเร้าใจเพียงใดก็ตาม
ส่วนงานด่วนไม่ใหญ่ นั้นทุกคนทราบดีว่า ให้รีบทำๆไปให้เสร็จ หรือถ้าจะให้ดี มีคนอื่นทำแทนได้จะดีมาก ถ้าเป็นเจ้านายควรส่งงานแบบนี้ให้ลูกน้องทำแทน เพราะเขาจะได้เรียนรู้ ตัวอย่างงานประเภทนี้เช่น การส่ง invite เชิญประชุม เป็นต้น
งานที่หลายคนจะเข้าใจผิด และทำสลับกันคืองานใหญ่ด่วน และใหญ่ไม่ด่วน เพราะเกือบทุกที่ผมรู้จักจะมุ่งไปที่งาน ใหญ่ด่วน ก่อน ซึ่งชื่อก็บอกแล้ว ว่าทั้งใหญ่ทั้งด่วน งานก็ยาก เวลาก็น้อย ทำออกมายังไงก็ได้ไม่ดีเต็มร้อย สิ่งที่ผมทำและอยากแนะนำคนอื่นทำคือ โฟกัสที่ งานใหญ่ที่(ยัง)ไม่ด่วน เพื่อที่เราจะได้เตรียมความพร้อมให้ได้เต็มที่ ส่วนงานใหญ่ที่ด่วนไปแล้วนั้น ความจริง มันก็เคยไม่ด่วนนั่นแหละ แต่ตอนนี้มันค้างคามาจนกลายเป็นงานด่วน เราทำแค่พอประคับประคอง อย่าให้เสียหายมาก จนขนาดแก้ไขไม่ได้ ก็พอแล้ว เพราะทำอย่างไรก็ไม่สามารถทำให้มันดีเพอเฟ็กซ์ไปได้ สู้เจียดเวลาไปทำงานใหญ่ที่ยังไม่ด่วนดีกว่า
เห็นด้วยอย่างจังครับ
หลายคน(รวมทั้งผมในอดีตด้วย) ทำใหญ่ทำด่วน จนมอดไหม้ ทั้งกายและใจ แล้ว
โชคยังดีที่มี กัลยาณมิตร ฉุดรั้งไว้ ให้กลับมา