สำหรับคนที่เริ่มทำสกรัมมักจะเข้าใจว่า สกรัมไม่มีกำหนดส่งงาน คือ ลูกค้าพอใจจะให้หยุดเมื่อไหร่ ก็หยุด ซึ่งก็ถูกตามตำราสกรัม แต่ความจริงเวลานำไปใช้ ถ้าหากโปรเจ็คมีกำหนดส่งงานชัดเจน ก็ยังสามารถใช้สกรัมได้
เป็นที่รู้กันดีว่า ในการพัฒนาซอฟแวร์นั้นมี 3 ปัจจัยสำคัญ ที่ project manager ทุกคนจะต้องรักษาสมดุลให้ได้คือ
1. เวลา (Time)
2. ขอบเขต (Scope)
3. ต้นทุน (Cost)
* สำหรับ Quality ซึ่งหลาย คนคิดว่า เป็นอีกหนึ่ง parameter ขอย้ำอีกครั้งตรงนี้ว่า Quality is not negotiable (เดี๋ยวเขียนให้อ่านกันนะว่าทำไม)
วิธีที่สกรัมแนะให้ทำเมื่อมีการ fixd เวลาคือ กาะปรับลด scope ดังรูป
จากรูป แกน x คือ เวลา ส่วน แกน y คือ จำนวน storty ที่ส่งมอบ (อาจจะมองเป็น story point ก็ได้) ถ้าหากเรามีการ fixed time หมายความว่า เรามีกำหนดส่งมอบ ที่แน่นอน (แสดงด้วย เส้นสีเทา ตัดแกน x) เราสามารถ ทำนาย (forecast) ปริมาณงาน (จำนวน story) ที่เราจะสามารถส่งมอบได้ โดยการหาว่า velocity สูงสุดที่น่าจะเป็นไปได้คือเท่าใด (เส้นสีเขียว) และ velocity ต่ำสุดที่น่าจะเป็นไปได้คือเท่าใด (เส้นสีแดง)
ปริมาณงานส่งมอบที่เป็นไปได้ (scope to be delivered) น่าจะอยู่บนเส้นสีเทาระหว่าง จุดตัด เส้นสีเทากับสีแดง และ สีเทากับสีเขียว ซึ่งก็คือแถบสีเทานั่นเอง
การนำเสนอสถานะเช่นนี้ จะดีกว่า การบอกแต่เพียงว่า เสร็จไม่เสร็จ เพราะ จะช่วยให้ PO สามารถวางแผนได้ดีขึ้น เพราะ ถ้า หาก มี story ใด ที่จำเป็นต้องมี(must have) ก็ควรจะอยู่ใต้เส้นสีแดง เพื่อให้แน่ใจว่า เมื่อถึง due date แล้วจะสามารถ ส่งมอบได้แน่ๆ ส่วน story ที่ควรจะมี (should have) ก็ควรจะอยู่ใต้เส้นเขียว เพราะจะได้มีโอกาส ที่จะอยู่ในการส่งมอบ ส่วน story ที่มีก็ดี (nice to have) ก็สามารถจัดไปอยู่ เหนือเส้นเขียวได้ ในกรณีที่จำเป็น
ขอบคุณรูปจาก Agile-Product-Ownership-in-a-Nutshell-drawing-by-Henrik-Kniberg