พืชหลากหลายชนิดต้องอาศัยแมลงโดยเฉพาะผึ้งในการผสมเกสร ถ้าหากมันมีน้ำหวานในดอกน้อยเกินไป ผึ้งก็จะไปเอาน้ำหวานจากดอกไม้ชนิดอื่น แต่ถ้ามีมากเกินไป ผึ้งก็จะเก็บน้ำหวานได้ในครั้งเดียว ทำให้ไม่เกิดการผสมเกสรขึ้น เพราะการผสมเกิดจาก ผึ้งเอาน้ำหวานจากดอกแรกแล้วมีเกสรติดตัวไปยังอีกดอกหนึ่ง และเนื้องจาก ทรัพยากรในธรรมชาตินั้นมีจำกัด การใส่น้ำหวานให้มาก ก็จะสามารถออกดอกได้จำนวนน้อย และถ้าหาก มีจำนวนดอกน้อย โอกาสที่จะอยู่รอดก็น้อยไปด้วย
ทั้งหมด จึงเป็นสมการที่ซับซ้อน ในอันที่จะยังผลให้สปีชี่หนึ่งอยู่รอดในขณะที่อีกสปีชี่หนึ่งหายสูญไป คำถามคือ เหล่าพืชพรรณคำนวณสมการที่ซับซ้อนนี้ได้อย่างไร
คำตอบคือ “สุดยอดการคำนวณ คือ ไม่คำนวณ”
เหล่าพืชพรรณเหล่านี้ใช้กระบวนการที่เรียกว่า “Empirical Method” กล่าว คือ การทดลองแล้ววัดผล
ตัวอย่างเช่น ในพืชสปีชี่เดียวกันนั้น จะมี ซับสปีชี่ ที่อันหนึ่งมีน้ำหวานมากกว่าอีกอันหนึ่งเล็กน้อย ถ้าหาก อันที่มากกว่า ให้ผลดี พวกมันก็จะมีลูกหลานมากกว่า ส่วนอันที่มีน้ำหวานน้อยกว่า ถ้าหากไม่ได้ผลก็จะสูญพันธุ์หรือมีจำนวนน้อยลง ทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นในช่วงเวลาหลายล้านปี และ อาศัยการทดลองมากมายหลายซับสปีชี่
สิ่งที่เราเรียนรู้จากดอกไม้และผึ้งคือ วิธีการหา solution ที่ถูกต้อง เช่นว่า velocity ของทีมควรเป็นเท่าไร หรือ เทคโนโลยีใดควรนำมาใช้ ไม่สามารถคิดคำนวณล่วงหน้าได้โดยง่าย การพยายามทำให้ได้ก็คือการนำพาธุรกิจไปสู่การล่มสลาย วิธีการที่ถูกต้องจึงเป็นการเลียนแบบดอกไม้ ที่ต้องการให้ผึ้งช่วยผสมเกสรให้ได้มากที่สุด ในขณะที่ทรัพยากรคือน้ำหวาน มีจำกัด แล้วค่อยๆ ปรับปรุงกระบวนการ ตามผลลัพธ์ที่ได้ในการทดลองแต่ละครั้ง
ทั้งหมดเป็นไปตามกระบวนการ ลีน ที่เรียกว่าวงจร PDCA (Plan Do Check Act)