หลายคนพอได้ยินว่าจะให้ convert story point เป็นหน่วยเวลาก็ส่ายหน้า ทำนองว่า ทำอย่างนั้นผิดหลักอไจล์ ซึ่งก็มีส่วนถูกอยู่ แต่การที่เราเฝ้าแต่นั่งปฏิเสธแบบนั้นไม่ได้ทำให้ผู้บริหารจากยุคดั้งเดิมสามารถเข้าใจอไจล์ได้มากขึ้นเลย มาว่ากันเลยว่า จะ convert ค่าระหว่าง storypoint กับ time ได้อย่างไร
ความจริงแล้วอไจล์มีการคำนวณความสัมพันธ์ระหว่าง เวลา และ storypoint อยู่แล้ว สิ่งนั้นคือ Velocity
Velocity คือ ค่าของ storypoint ที่ทีมสามารถทำได้ในหนึ่ง สปรินต์
ซึ่ง สปรินต์หนึ่งๆ ก็คือช่วงเวลาที่แบ่งเป็นรอบการทำงาน มีช่วงตั้งแต่ 2-4 สัปดาห์ แล้วแต่าการตกลงกัย ภายในทีม
สมมติ ทีมทีมหนึ่ง มี
velocity = 30 story point
และมี ความยางสปรินต์คือ
sprint length = 2 week
ก็จะได้ว่า
1 team-day = velocity / days
= 30/10
= 3 story point / team-day
จะเห็นได้ว่า หน่วยของเวลาเป็น ทีม-วัน ซึ่งเป็นเพราะทีมแบบอไจล์ จะเป็นลักษณะที่ทุกคนทำงานตามกำลังของตนเองเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย
ซึ่งจากจุดนี้ “เราไม่สามารถ” คำนวณต่อ เนื่องจากว่า เนื่องจาก ทีมไม่ได้ต่าคนต่างทำ แต่เป็นการช่วยเหบือเกื้อกูลกัน ในการทำงาน จึงทำให้การทำงานสำเร็จลุล่วงด้วยกัน เราจึงไม่ได้สามารถ แยกต่อลงไปถึงระดับบุคคลได้ เพราะ ถึงแม้ว่าเราอาจจะทำได้ แต่ตัวเลขที่ได้กลับไม่ใช่ตัวเลขที่น่าเชื่อถือเพียงพอที่จะนำไปใช้งานจริงได้
เหตุผลที่ไม่สามารถแยกออกเป็น man-hour ได้นั้นเป็นเพราะ เราไม่ทราบได้ว่าแต่ละคน contribute ให้กับแต่ละ story เท่าใดบ้าง จะตีขลุมประมาณว่า ทีมมีสามคน ก็คูณสาม อย่างนั้นไม่สามารถทำได้ และอีกเหตุผลคือ การทำงานเป็นทีมนั้นมีความจำเป็นต้องสื่อสาร (communicate) กันแทบจะตลอดเวลา และปริมาณการสื่อสารนี้แปรผันตามจะนวนคน เพราะฉะนั้น การหาว่า คิดเป็นแต่ละคนแล้วเป็นเท่าใด จึงไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง เพราะยิ่งเพิ่มคนขึ้น ประสิทธิภาพของทีมก็จะยิ่งลดลงด้วยค่าใช้จ่ายของการสื่อสาร ทีมที่มีจำนวนคนมากกว่า ก็อาจจะทำงานได้ช้ากว่า ทีมที่มีจำนวนคนน้อยกว่าได้